เป็นคำถามที่ลูกค้าถามกันเข้ามาเยอะมากๆถ้ากิมจิเสีย ดูยังไงว่าเสีย? กิมจิเปรี้ยวกินได้ไหม ดูอย่างไรว่ากิมจิแบบไหนกินไม่ได้ ทำไมกิมจิถึงขึ้นรา ทำไมกิมจิถึงเน่าเสีย การป้องกันไม่ให้กิมจิเน่าเสีย บทความนี้มีคำตอบค่ะ
สารบัญ
กิมจิแปลกๆ รับประทานได้ไหม
กิมจิเปรี้ยวมาก เปรี้ยวจนตาปิด กินได้ไหม

กิมจิเวลาทำเสร็จใหม่ๆ จะรสชาติ เค็มๆ หวานๆ เผ็ดนิดๆสามารถทานได้ทันทีเลย แต่จะไม่มีรสชาติเปรี้ยวเลย ความเปรี้ยวเกิดจากการหมักตัวตามธรรมชาติของจุลินทรีย์ที่มีประโยชน์
หากต้องการให้เปรี้ยว แนะนำให้หมักในตู้เย็นประมาณ 7-14 วัน(กรณีทำสดใหม่ๆด้วยตนเอง)หรือหมักไว้นอกตู้เย็น 8 – 48 ชม. แล้วแต่ความชอบ (กรณีไว้นอกตู้เย็นต้องระวังกิมจิขึ้นราด้วยนะคะ)
ความเปรี้ยวขึ้นอยู่กับระยะเวลาการหมักและอุณหภูมิ ยิ่งร้อน ยิ่งนานก็ยิ่งเปรี้ยวเร็ว
ไม่ใช่ว่ากิมจิเปรี้ยวคือกิมจิเน่าเสีย กิมจิเปรี้ยว คือกิมจิที่อุดมไปด้วยจุลินทรีย์ที่มีประโยชน์ยิ่งเปรี้ยว ยิ่งดีต่อสุขภาพแต่ความเปรี้ยวนั้น จะอร่อยหรือไม่อร่อยอันนี้เป็นความชอบส่วนบุคคลค่ะ
สรุปกิมจิเปรี้ยว
กิมจิเปรี้ยวไม่ได้แปลว่า กิมจิเสียนะคะ แต่เป็นกิมจิที่ดีและมีประโยชน์ต่างหาก
หากไม่ชอบกิมจิเปรี้ยว อ่านเพิ่มเติม:
กิมจิเป็นเมือก น้ำเหนียว ยืด กินได้ไหม

อันนี้เป็นอีกคำถามที่ชาวเกาหลีหรือชาวต่างชาติเองก็ยังแก้ไม่ตก ในภาษาอังกฤษจะใช้คำว่า “Slimy Kimchi” หรือกิมจิลื่นๆ เมือก
มีการถกกันถึงประเด็นนี้ค่อนข้างเยอะเพราะกิมจิบางครั้งเพิ่งทำเสร็จใหม่ๆ1-2 วันดันเป็นเมือกเหนียวๆ แต่รสชาติเหมือนเดิม แต่เนื้อสัมผัสเหนียวเหมือนราดหน้า ซึ่งเป็น texture ที่ไม่น่ารับประทานเอาซะเลย แต่การเหนียว หรือ การเป็นเมือก ไม่ได้แปลว่ากิมจิเสียนะคะ
สามารถทานได้ แต่มันไม่น่ารับประทาน ประเด็นหลักๆที่ทำให้เกิดการเป็นเมือกนั้น เกิดจากจุลินทรีย์ที่มากจนเกิดความเข้มข้น เฉกเช่นเดียวกับ นม หมักตัว กลายเป็นโยเกิร์ต วิธีแก้ที่มักใช้กันคือ นำไปทำเป็นซุปกิมจิค่ะ
สรุปกิมจิยืดๆเหนียวๆ
กิมจิเหนียวๆหนืดๆยืดๆ ไม่ได้เสียนะคะ แต่ไม่น่ารับประทานเท่านั้นเอง
ถุงใส่กิมจิพอง บวม กิมจิเสียหรือป่าว

ในกรณีไม่ได้จัดส่งแบบควบคุมอุณหภูมิ ระหว่างการขนส่ง กิมจิจะเกิดการหมักตัวตามธรรมชาติและปล่อยแก๊สระหว่างเดินทาง ถุงกิมจิอาจบวมเป่งหรืออาจถึงขั้นถุงระเบิดนะคะ ไม่ต้องตกใจ เป็นเรื่องปกติค่ะ
4 วิธีการแก้ปัญหาถุงกิมจิ พองบวมระหว่างขนส่ง
1. ซ้อนถุงอลูมิเนียมฟอยด์ไว้ให้ทั้งหมด 2 ชั้น ซึ่งถุงทั้ง 2 ใบเป็นบรรจุภัณฑ์สำหรับอาหารอย่างดี สามารถใช้เข้าตู้เย็นได้ทั้งสองถุง หากถุงด้านในแตกสามารถตัดทิ้งเพื่อใช้ถุงด้านนอกได้ หรือ จะตัดเทใส่กล่องก็ได้เช่นกัน
2. ใส่เจลเย็นเพื่อรักษาความสด ลดอาการพองบวมของถุง และชะลอความเปรี้ยวของกิมจิระหว่างจัดส่ง
3. ใส่ซองดูดแก๊ส (Gas absorber) คุณภาพสูง นำเข้าจากเกาหลี เพื่อใช้สำหรับกิมจิโดยเฉพาะ สามารถรักษาคุณภาพของผักให้สดใหม่ยิ่งขึ้น และลดความพองบวมของถุงอีกด้วย ประสิทธิภาพของ Gas Absorber ระดับ Food Grade สามารถโดนน้ำได้โดยไม่ทิ้งสารปนเปื้อน แต่ห้ามรับประทาน
4. การจัดส่งสินค้าแบบควบคุมอุณหภูมิ 0-5 องศา
อ่านเพิ่มเติม: การจัดส่งแบบควบคุมอุณหภูมิ
กิมจิเสีย ดูยังไง
กิมจิเสีย คือ กิมจิขึ้นรา
กิมจิเสียจะมีราขึ้นด้านบนสีขาวหรือสีดำ ให้สังเกตจุดสีขาว ๆ หรือ สีดำ ๆ ตามภาพเลยค่ะ หากพบ ต้องทิ้งทั้งหมด ไม่สามารถทิ้งเฉพาะจุดที่ขึ้นราได้ เพราะกิมจิที่เหลืออาจมีเชื้อราที่เรามองไม่เห็น เชื้อราพวกนี้ อันตราย ห้ามทานเด็ดขาด หากรับประทาน อาจจะมีอาการท้องเสียรุนแรงค่ะ


กิมจิมักขึ้นเชื้อราเพราะไม่ได้รับการจัดเก็บอย่างเหมาะสม เชื้อราสามารถพัฒนาบนอาหารได้หากสัมผัสกับความชื้นสูงหรืออากาศที่มีออกซิเจนในระดับต่ำ


เชื้อราสามารถเกิดขึ้นได้ในกิมจิอันเป็นผลมาจากการปนเปื้อน หรือการจัดการที่ไม่เหมาะสม จริงๆแล้ว การที่กิมจิขึ้นราเกิดจากหลายปัจจัย ซึ่งหากเราอธิบายในบทความนี้ อาจยาวจนเกินไป และบทความนี้อาจกลายเป็น บทความเชื้อราเลยก็ได้ค่ะ
รูปกิมจิขึ้นรา (คลิกเพื่อขยายที่ภาพ)
ผู้เชี่ยวชาญเกี่ยวกับกิมจิบางคนจะบอกว่า ราที่ขึ้นบนกิมจิที่มีสีขาว ๆ ภาษาเกาหลีเรียกว่า โกลมาจี เป็นเชื้อราที่ไม่มีพิษ สามารถรับประทานได้
แต่เนื่องจากเราไม่มีกล้องจุลทรรศน์สำหรับส่องจุลินทรีย์โดยเฉพาะ เราจึงไม่สามารถแยกได้ว่า เชื้อราที่อยู่บนกิมจิเป็นเชื้อราที่มีพิษ หรือไม่มีพิษ ทางเราแนะนำว่า “อย่ารับประทานเด็ดขาด” เพราะอาจจะทำให้เกิดอาการปวดท้องรุนแรงได้
แนวทางการป้องกันกิมจิขึ้นรา
สรุป
• กิมจิเปรี้ยวมาก ไม่เสียสามารถทานได้ แต่อาจไม่อร่อยแนะนำให้นำไปทำกับข้าว
• กิมจิเป็นเมือก น้ำเหนียวๆ ยืดๆ ไม่เสียสามารถทานได้ แต่ไม่น่ารับประทาน แนะนำนำไปทำซุปกิมจิ
• กิมจิถุงพอง บวม ไม่เสีย สามารถทานได้ปกติ
• กิมจิขึ้นรา คือกิมจิเสีย ไม่สามารถรับประทานได้ แนะนำให้ทิ้งทันที
บทความพิเศษ
วิธีการทำกิมจิฉบับสมบูรณ์ ที่รวมทั้งการทำซอสกิมจิ 4 แบบ และ วิธีการกิมจิกว่า 10 ชนิด คำถามที่พบบ่อย และทุกๆ เรื่องที่เกี่ยวกับกิมจิ

พรรณพนัช (บี)
ผู้เชี่ยวชาญทางด้านโภชนาการ นักค้นคว้าวิจัย และพัฒนาเกี่ยวกับสูตรอาหาร Nutritionist | Recipes | Academic Article