วัฒนธรรมองค์กร

บริษัท มิสเตอร์เค กิมจิ จำกัด

สิ่งที่คนในองค์กรเราเชื่อ และยึดมั่นมาโดยตลอด จนเป็นวิถีการทำงานร่วมกัน ที่ออกแบบมาให้เราเติบโตไปด้วยกันอย่างยั่งยืน

สามารถคลิกที่ตัวอักษรเพื่ออ่านแต่ละเรื่องได้เลย

Proud to eat what we cook

อะไรคือขาว?? อะไรคืองอก?? ต่างกันอย่างไร??

ปฎิเสธไม่ได้เลยว่า สิ่งต่างๆ รอบตัวที่เป็นของกินในประเทศไทย ที่หน้าตาสวยงาม แต่กับเต็มไปด้วยสารเคมี คนขายมักไม่กล้าทานสิ่งที่ตัวเองขายเมื่อผมกลับมาจากออสเตรเลีย ปี 2562 

ผมไปซื้อถั่วงอกแม่ค้าถามว่าเอาไปขายหรือเอาไปกิน ผมบอกเอาไปขายเพราะตอนนั้น ทำร้านอาหารอยู่ครับ แม่ค้าถามต่ออีกว่า เอาขาว หรือ เอางอก ผม งง กับคำถามนี้มาก?? อะไรคือขาว?? อะไรคืองอก?? ต่างกันอย่างไร??

ถั่วงอก

จึงถามแม่ค้าไป ว่า ต่างกันยังไง แม่ค้าบอกว่า ถ้าเอาไปกินเองก็ซื้องอกไป ถ้าเอาไปขายก็เอา ขาวไป ขาวก็คือถั่วงอก ที่ถูกใส่สารฟอกขาว ผมตกใจมากว่า เฮ้ย! ทำไมเราต้องซื้อขาวด้วย แม่ค้าเล่าว่า คนไทยอยากตายเร็ว เวลาคนขายผัดไทยเอาถั่วงอกดำนิดๆหน่อยๆ ใส่ให้ลูกค้า ลูกค้าจะไม่พอใจ 

ลูกค้าชอบถั่วงอกที่ขาวๆอ้วนๆ รูปร่างสวยงาม จึงทำให้แม่ค้าผัดไทยต้องใช้ขาวให้การขาย ไม่อย่างนั้นจะขายไม่ได้ คนขายไม่กล้ากินถั่วงอกที่เรียกว่า ขาวเลย เพราะรู้ว่าเต็มไปด้วยสารเคมี

แม่ค้าเขียงหมู ไม่กล้ากินหมู!!

ต่ออีกเรื่อง เมื่อปี 2562 – 2564 มีโรคระบายเกี่ยวกับหมู มีผู้คนแชร์ในโลก Social มากมายเกี่ยวกับการซื้อเนื้อหมูสดและเจอหนอง ช่วงนั้นเป็นโรคระบาดเกี่ยวกับหมูในประเทศไทย ที่เรียกว่าโรคอหิวาต์แอฟริกา หรือเอเอสเอฟ แต่รัฐบาลบอกว่าแจ้งว่าไม่มี

เนื้อหมู

แม้แต่กรมปศุสัตว์ซึ่งของบ จากรัฐบาลถึง 3 ครั้ง ในช่วงเวลาดังกล่าว เพื่อป้องกันโรคเอเอสเอฟ ก็แจ้งว่าไม่ทราบว่ามีโรคนี้ ทั้งๆที่ของบประมาณจากรัฐบาลกว่าพันล้านบาท 

แต่ปฎิเสธมาตลอดว่าโรคระบาดนี้ไม่เคยเกิดขึ้นในประเทศ ทั้งที่ในช่วงเวลานั้นมีข่าวเวียดนาม สั่งระงับการนำเข้าหมูไทย เพราะตรวจพบโรคอหิวาต์แอฟฟริกาหรือเอเอสเอฟ ไต้หวันก็ตรวจพบโรคนี้ในไส้กรอกจากไทยด้วยเช่นกัน และภาคีคณบดีคณะสัตวแพทยศาสตร์ก็เคยเตือน

ณ ช่วงเวลานั้น เนื้อหมูแพงมาก กระโดดจาก 140-180 บาทไป 220-240 บาท และที่สำคัญที่สุดคือ คนที่เป็นเขียงหมู คนที่ขายเนื้อหมูในเวลานั้น รู้เรื่องพวกนี้เป็นอย่างดี กล้าขาย แต่ไม่กล้ากิน ถ้าเราชวนคนขายเนื้อหมูไปกิน หมูกระทะ หรือ หมูปิ้งบอกตรงๆคนที่เป็นเขียงหมูไม่กล้ากินเลยครับ 

อุดมการณ์ที่เราเชื่อถือมาโดยตลอด

กิมจิโพกิ ผักกาดขาวครึ่งหัว

แต่มิสเตอร์เค กิมจิ เราจะไม่เป็นแบบนั้นเด็ดขาด นี้คือสิ่งที่เรายึดมั่นมาโดยตลอด หากเราไม่อยากกิน ไม่กล้าทาน เราจะไม่นำสิ่งนั้นจำหน่ายให้ลูกค้าเด็ดขาด เราคิดเสมอว่าลูกค้าคือคนสำคัญที่สุด ในการดำเนินธุรกิจ ถ้าไม่มีลูกค้า ไม่มีเรามิสเตอร์เค กิมจิ ในวันนี้แน่นอน

เราคิดมุมกลับเสมอว่าหากสิ่งค้านั้นเราไม่อยากกิน หรือเราไม่กล้าทานเพราะเต็มไปด้วยสารเคมี หรืออะไรก็แล้วแต่ เราจะทิ้งและเลิกขายมันไปซะ ดีกว่าให้อุดมการณ์ที่เราเชื่อถือมาโดยตลอดต้องมาพังเพราะสินค้าที่เราไม่กล้ากิน ลูกค้าคือคนสำคัญของเรา ลูกค้าต้องได้ทานสิ่งที่น่าตาสวยงาม ดีและมีประโยชน์ครับ

Accountability

ความรับผิดชอบสูงสุด

ความรับผิดชอบสูงสุด เราใช้คำนี้ในองค์กรของเราบ่อยมาก บ่อยซะจนเหมือนเราเอาคำนี้ ฉีดเข้าไปในกระแสเลือดของพนักงานทุกคนไปเลยก็ว่าได้ หากพนักงานคนใดในบริษัทฯ ไม่รู้จักคำนี้ แสดงว่าคุณไม่รู้จัก มิสเตอร์เค กิมจิเลย ไม่ใช่แค่ความรับผิดชอบ แต่ต้องเป็นความรับผิดชอบสูงสุด แล้วอะไรคือ ความรับผิดชอบสูงสุด มาดูกันครับ

เมื่อมีความผิดพลาดเกิดขึ้นในชีวิตหรือการทำงาน คนส่วนใหญ่มักจะโทษทุกสิ่งทุกอย่างนอกจากตัวเอง แต่ลืมนึกไปว่าทุกครั้งที่เราชี้นิ้วออกไปที่คนอื่น 1 นิ้ว จะมีอีก 3 ถึง 4 นิ้วที่เหลือ ชี้กลับมาหาตัวเรา

ชี้มาที่ตัวเอง

ครอบครัวหรือองค์กรใดๆ ก็ตาม ความรับผิดชอบทั้งหมดสำหรับความสำเร็จหรือล้มเหลวจะตกอยู่กับผู้นำ ผู้นำต้องรับผิดชอบกับทุกสิ่งในโลกของเขา ไม่มีใครให้กล่าวโทษได้อีกแล้ว

ผู้นำต้องรับรู้ทั้งความผิดและยอมรับความล้มเหลว เข้าแก้ไขปัญหาเหล่านั้นแล้วพัฒนาแผนเพื่อชัยชนะ ผู้นำที่ดีไม่จำเป็นต้องมีผู้ตาม ใช่ครับ คุณอ่านไม่ผิด คุณสามารถเป็นผู้นำในชีวิตของตัวคุณเองในโลกของคุณได้ คุณคือ CEO ในชีวิตของคุณ

มั่นใจในแผน

Trust to our plan

ผู้นำ และ ความเชื่อมั่น

การจะโน้มน้าวและเป็นแรงบันดาลใจผู้อื่นให้กระทำตามและบรรลุความสำเร็จในภารกิจ ผู้นำต้องเชื่อมั่นในแผนอย่างแท้จริง แท้เมื่อผู้อื่นสงสัยและตั้งคำถามถึงความเสี่ยงว่า ” มันจะคุ้มหรือ? “

ผู้นำต้องเชื่อมั่นในสิ่งที่ยิ่งใหญ่กว่านั้น หากผู้นำไม่เชื่อเขาก็จะไม่กล้าเสี่ยงเพื่อเอาชนะอุปสรรคให้ได้ แล้วเขาจะไม่สามารถโน้มน้าวคนอื่นๆ ได้ โดยเฉพาะพนักงานในแนวหน้า ที่เป็นผู้ผลิต หรือ แอดมินด่านหน้าที่ต้องเป็นคนลงมือปฎิบัติเอง 

การจะนำทีมให้ได้นั้น ผู้นำต้องปฎิบัติด้วยความเข้าใจว่าพวกตนคือส่วนหนึ่งของสิ่งที่ยิ่งใหญ่กว่าตัวเองและผลประโยชน์ส่วนตน ต้องส่งต่อความเข้าใจนี้ไปยังทีมต่าง ๆ จนถึงระดับผู้ปฎิบัติในหน้างาน ที่สำคัญกว่าการฝึกฝนการผลิตหรือกลยุทธ์ต่างๆ ก็คือความเชื่อมั่นในแผน เป็นสิ่งที่สำคัญต่อทีมหรือองค์กรที่จะชนะและบรรลุผลสำเร็จอันยิ่งใหญ่ 

มีหลายกรณีที่ผู้นำต้องคิดและมองภาพไปในแนวทางเดียวกับแผน เมื่อใดที่ผู้นำเชื่อมั่นในแผนแล้ว ความเชื่อมั่นนั้นจะส่งต่อไปยังผู้ตามและเหนือขึ้นไปตามสายการบังคับบัญชา การกระทำและคำพูดนั้นสะท้อนความเชื่อมั่นให้เห็นได้ด้วยความมั่นใจและเชื่อมั่นในตัวเอง ซึ่งจะเป็นเช่นนี้ไม่ได้หากความเชื่อมั่นนั้นเริ่มสั่นคลอน

ผู้นำรองลงมา ข้อสงสัย และการตั้งคำถาม

ปัญหานี้จะเกิดขึ้นเมื่อไม่ได้คิดให้เป็นแนวทางเดียวกับแผน เมื่อผู้นำไม่เชื่อมั่น ผู้ตามจะมองเห็นได้ชัดแล้วเริ่มตั้งคำถามถึงความเชื่อมั่นในแผนของเขา ผู้นำทุกคนต้องมีใจเป็นกลางต่อทุกโปรเจค ต่อทุกทางกลยุทธ์ แล้วทำความเข้าใจให้ได้ถึงวิธีที่จะลงมือทำให้เข้ากับเป้าหมาย เมื่อผู้นำรับคำสั่งที่ตัวเองยังสงสัยและไม่เข้าใจ เราต้องถามว่า “ทำไม? ทำไมเราถึงต้องทำสิ่งนี้?”

ผู้นำกลุ่มนี้ต้องถอยออกมาแล้วแยกแยะสถานการณ์ วิเคราะห์ในภาพรวมแล้วจึงสรุป ถ้าหาคำตอบที่น่าพอใจให้ตัวเองไม่ได้ ก็ต้องหาคำตอบจากหัวหน้าที่ตำแหน่งใหญ่กว่าให้ได้จนกว่าจะเข้าใจเหตผล หากผู้นำทีมเข้าใจดีว่า ทำไม ก็จะก้าวไปข้างหน้าได้ด้วยความเชื่อมั่นเต็มเปี่ยมในสิ่งที่ตนกำลังทำ

ผู้นำมีหน้าที่ต้องสละเวลามาอธิบายและตอบคำถามกับผู้นำชั้นรองลงไปเพื่อให้คนกลุ่มนี้เข้าใจถึงเหตุผลและเกิดความเชื่อมั่นไม่ว่าจะเป็นแผนกหรือเป็นบริษัทน้อยใหญ่ พนักงานในระดับล่างๆ จะไม่เข้าใจในภาพรวมแจ่มแจ้งเท่าที่ระดับสูงคาดหวังไว้ จึงจำเป็นที่หัวหน้าทีมต้องทำความรู้ในระดับกลยุทธ์ให้เป็นที่เข้าใจ และอธิบายเหตุผลต่อเจ้าหน้าที่พนักงาน

เชื่อมั่นในแผน

ในองค์กรใดก็ตาม เป้าหมายต้องเป็นไปในทิศทางเดียวกันเสมอ หากเป้าหมายขัดกันขึ้นในบางระดับ ปัญหานี้ต้องเป็นที่รับรู้และแก้ไขในธุรกิจก็เช่นเดียวกับในบริษัท ไม่มีทีมผู้บริหารระดับสูงใด ที่จะเลือกแนวทางปฎิบัติหรือออกคำสั่งที่จะนำไปสู่ความล้มเหลว 

แต่ผู้อยู่ในตำแหน่งที่ต่ำกว่า อาจจะไม่เข้าใจกลยุทธ์ที่แน่นอน แล้วไม่เชื่อมั่นในแผนนั้น ผู้นำระดับรองลงไปจึงต้องตั้งคำถาม แล้วตอบสนองขึ้นไปตามสายงาน ให้ผู้นำระดับสูงได้เข้าใจอย่างถ่องแท้ แล้วแก้ปัญหาเพื่อให้แผนในระดับยุทธศาสตร์ เป็นแนวทางให้เกิดการทำจริงในภาคปฎิบัติ

ความเชื่อมั่นในแผนนี้ คือผู้นำต้องอธิบายไม่ใช่เฉพาะสิ่งที่ต้องทำเท่านั้นแต่ต้องแจ้งเหตุผลด้วย และเป็นความรับผิดชอบของผู้นำระดับรองลงไปที่ต้องถามในสิ่งที่ไม่เข้าใจ เมื่อผู้นำทุกระดับเข้าใจและเชื่อมั่นในภารกิจเหล่านั้นแล้ว จึงจะฟันฝ่าอุปสรรคไปแล้วปฎิบัติได้จนประสบความสำเร็จ

ความซื่อสัตย์

Integrity

วอร์เรน บัฟเฟตต์(Warren Buffett) มหาเศรษฐีระดับโลก พูดถึงเรื่องนี้ไว้เป็นอย่างดี
ปู่แกเล่าว่า การรับคนเข้าทำงานของแก จะพิจารณา 3 คุณสมบัติหลักตามนี้

1. มีความซื่อสัตย์ (Integrity)

2. มีสติปัญญา (Intelligence)

3. มีพลังในการทำงาน (Energy) 

คนซื่อสัตย์

หากถามว่าคุณสมบัติข้อไหนสำคัญที่สุด ต้องตอบว่า ความซื่อสัตย์สำคัญที่สุด เพราะหากพนักงานที่มีสติปัญญาสูงและมีพลังในการทำงานที่สูง แต่ไม่มีความซื่อสัตย์เลย สติปัญญาที่สูงและพลังที่สูงของเขา จะย้อนกลับมาทำลายบริษัท ในอัตราที่สูงตามสติและพลังของเขาคนนั้น

หากพนักงานไม่มีความซื่อสัตย์ เราจะไม่ดูคุณสมบัติข้อที่ 2 และ 3 เลย เราเลือกขอเลือกคนที่มีความซื่อสัตย์สูง อาจจะมีสติปัญญาปานกลาง พลังในการทำงานปานกลาง ยังดีซะกว่า

เราจะทำทุกอย่างให้ดีขึ้นขอแค่ 1% เราก็จะทำ

Even 1% Be better

หากเราใช้เวลาเพียงวันละแค่ 30 นาที พัฒนาทักษะอะไรก็แล้วเพียงแค่วันละ 1 % ผ่านไป 1 ปี เราจะเก่งขึ้น 37 เท่า จากที่มาของหนังสือ Atomic Habit เขียนโดย James Clear เราได้นำข้อเสนอแนะนี้ มาพัฒนาองค์กรของเราให้ก้าวกระโดด โดยผ่าน 1 เครื่องมือที่ชื่อว่า PDCA และ 3 คำถามเพื่อพัฒนาองค์กรอยู่ตลอดเวลา

PDCA เครื่องมือ สำคัญที่เรานำมาใช้ในการพัฒนาองค์กร ของเรา

กระบวนการวางแผน

โดยเราจะทำประชุม ร่วมกันวางแผน (Plan) จากนั้นจะนำแผนที่ได้ ไปลงมือทำ (Do) และวัดผล (Check) ได้ผลอย่างไรนำมาปฎิบัติต่อหรือปรับปรุงแก้ไข (Action) และวนกลับไปวางแผนใหม่ P – D – C – A แบบนี้ตลอดเวลาไม่เคยหยุดนิ่ง เพราะเราเชื่อว่า การพัฒนาขอเพียงแค่ 1% หรือแม้แต่ 0.1 % เราก็จะทำเพื่อองค์กร และ เพื่อลูกค้า

3 คำถามสำคัญในการพัฒนาการทำงาน

1. ทำงานอย่างไร ให้ได้คุณภาพงานเท่าเดิม แต่ประหยัดเวลาขึ้น
2. ทำงานอย่างไร ให้ได้คุณภาพงานมากขึ้น แต่ใช้เวลาเท่าเดิม
3. ทำงานอย่างไร ให้ได้คุณภาพงานมากขึ้น และใช้ระยะเวลาที่สั้นลงด้วย

3 คำถามพัฒนาคุณภาพงาน

หากเรา ถามตัวเองและทีมงานใน 3 คำถามนี้ นำความคิดที่ได้มาทำ PDCA เราจะพัฒนาตนเองและองค์กรอย่างมาก จนคู่แข่งไม่มีตามทัน

ดีขึ้นทุกๆวัน

เราไม่ได้เป็นพวกที่ชอบก้าวยาว ๆ เราเป็นพวกก้าวสั้น ๆ ขยับทีละนิด หวังผลระยะยาว และไม่แข่งกับใครแต่แข่งกับตัวเองในอดีต

ไม่มีอะไรที่เราทำไม่ได้

Nothing we can not do

โลกเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา การทำธุรกิจเราต้องเปลี่ยนแปลงไปยุคตามสมัย ความสำเร็จในอดีต ไม่สามารถการันตีความสำเร็จในอนาคตได้ ขอพูดถึงการทำตลาดออนไลน์ในประเทศไทย ในปี 2012 ใครที่ยิง Ads Google จะถือว่าดีมาก ต่อคลิกค่าใช้จ่ายจะอยู่ที่ประมาณ 0.5 บาท ต่อให้กำไร สินค้าอยู่ที่ 50 บาท กว่าจะขาดทุนหรือเท่าทุน ต้องมีคนกดเข้ามากว่า 100 คน และ หาก 100 คนมี 1 คนซื้อ ก็ยังเท่าทุนอยู่ดี 

ในยุคนั้นถือเป็นยุคทองของการยิง Ads google แต่เป็นเรื่องที่ทำได้ยาก ใครที่รู้จักเรียนรู้การยิง Ads google จะได้เปรียบคู่แข่งเป็นอย่ามาก แต่ไม่นาน ค่า Ads google ก็ขึ้นมาเรื่อยๆ จนปัจจุบันปี 2022 ขั้นต่ำสุดคลิกละ 5 บาท คำที่ฮิตๆสูงไปถึงคำละ 100 บาทต่อคลิกก็มี เท่ากับว่า หากสินค้าเรากำไรน้อยๆ กำไรต่ำกว่า 200-300 จะขาดทุนค่า Ads ทันที

ต่อมาในปีประมาณ 2015-2019 จะเป็นยุคของการยิง Ads ผ่าน Facebook การทำเพจ แล้วยิง Ads จะดีมากๆ เนื่องจาก Facebook มีผู้คนใช้งานจำนวนมาก และมีช่องทางการโปรโมทสูง ค่า Ads ROAS คือ ผลตอบแทนค่อนข้างสูง ค่าแอดอยู่ที่ 5-10% ของยอดขาย เรายิงแอดไป 100 บาท จะได้ยอดขายกว่า 1,000-2,000 บาท ถือเป็นยุคทองของการทำ chat commerce การคุยขายของ และค่าแอดค่อนๆสูงขึ้นเรื่อย ๆ จะผู้คนมาเริ่ม live และ สร้าง facebook group เนื่องจาก Page ผู้ปิดการมองเห็นเกือบ 100% และ การยิงแอดเริ่มที่จะแพงขึ้นเรื่อย ๆ 

ยุคต่อมาในช่วง ค.ศ 2018-2021 จะเป็นยุคของการขายของใน Market Place บูมมากๆ โดยเฉพาะตลาด Shopee และ Lazada เนื่องจาก 2 Platform ต้องการชิงส่วนแบ่งการตลาดในประเทศไทยให้มีผู้ใช้มากที่สุด จึงเกิดการตลาดที่ขาดทุนจำนวนมาก และ แคมเปญต่างๆ เช่น ส่งฟรี ทั่วไทย และคูปองต่างๆ อีกทั้งฟรีค่าธรรมเนียมเกือบทุกอย่าง เพื่อให้พ่อค้าแม่ค้า ได้ทำกำไรกันอย่างเต็มที่ จากนั้นก็เริ่ม เพิ่มค่าส่ง ค่าธรรมเนียม 

และในปัจจุบันปี 2022 ต้องบอกว่าเป็นยุคของ วิดีโอสั้นแนวตั้งอย่าง tiktok ที่เพิ่งเปิดตัว tiktok shop ฟรีค่าส่ง ค่าธรรมเนียม และมาประกาศค่าธรรมเนียมครั้งแรก 3% เมื่อเดือนกรกฎาคม 2564 

จะเห็นว่าโลกเปลี่ยนแปลงไปเรื่อย ๆ แต่หลักการจะคล้ายๆเดิม คือ ล่อให้ใช้ของฟรี ได้ผลประโยชน์เยอะๆ จนชินก่อน แล้วค่อยทำกำไรทีหลัง หากเราไม่มี Learn – Unlearn – Relearn อยู่ตลอดเวลา เราก็เหมือนกล้องฟิมล์ที่ตาย เมื่อกล้องดิจิตอลเข้ามา

การเรียนรู้ (Learn) ว่ายาก แต่การลบหรือการลืมความสำเร็จในอดีต (Unlearn) นั้นยากกว่า และการ Relearn นั้นสำคัญไม่แพ้กัน เด็กสมัยใหม่จำเป็นจะต้องมีทักษะ ทั้ง 3 อย่างนี้เพราะโลกเปลี่ยนแปลงเร็วขึ้นเรื่อยๆจาก 10 ปี เป็น 5 ปี เป็น 1 ปี ปัจจุบันการเปลี่ยนแปลงของ Platform หรือ เทคโนโลยี ทำการเปลี่ยนกันเกือบทุกเดือน ทำให้คนที่ไม่รู้จักปรับตัวจะต้องตายไป และเมื่อเรามีทักษะทั้ง 3 อย่างนี้ จะต้องบอกว่า ” ไม่มีอะไรที่เราทำไม่ได้ “ หากเรามีการเรียนรู้ และการลงมือทำตลอดเวลา 

การทำงานเป็นทีม

Teamwork

การทำงานเป็นทีมนั้นถือเป็นข้อที่สำคัญมากๆ ในการทำงานให้ประสบความสำเร็จ เอาใจเค้ามาใส่ใจเรา เป็นคำที่สั้นแต่ใช้ได้ผลมากๆ ซึ่งทีมเรายึดถือคำว่า เป็นพิเศษ และอยากให้พี่ๆน้องๆทุกคน ทำความเข้าใจคำนี้อย่างลึกซึ้ง

มิสเตอร์เค กิมจิ